การใช้งาน TACHYMETER ในนาฬิการะบบ CHRONOGRAPH
ผู้ที่ใช้นาฬิกาข้อมือระบบ Chronograph หลายท่าน อาจจะสงสัยว่าตัวเลขที่ขอบหน้าปัดนาฬิกา(Bezel) คืออะไรและใช้อย่างไร ซึ่งจริงๆ มันคือ Tachymetre หรือ Tachymeter หรือ Tachymetric Scale แล้วแต่การเรียกของแต่ละสถานที่ ซึ่งมีประโยชน์มากในการวัดอัตราความเร็วหนึ่งหน่วยเวลา Tachymeter เป็นมาตรวัดความเร็วโดยหน่วยที่ใช้จะเป็น KM/HR(กิโลเมตรต่อชั่วโมง) โดยอ่านค่าจากเข็มจับเวลาวินาที
tachymeter สามารถนำไปประยุกต์ได้หลากหลายแบบ อาทิเช่น จับระยะทางรถที่วิ่งใน 1 กม.โดยเริ่มกดปุ่มจับเวลาข้างตัวเรือนนาฬิกาข้อมือ เมื่อรถออกวิ่ง เมื่อครบ 1 กม. ก็กดปุ่มหยุดจับเวลา แล้วให้สังเกตเข็มวินาทีไปหยุดตำแหน่งเลขใดบน Scale Tachymeter ให้อ่านเลขตรงจุดนั้น ตัวอย่างคือ เข็มวินาทีหยุดที่เลข 6 ก็คือเดินไป 30 วินาที จะตรงกับเลข Scale Tachymeter 120 กม.นั่นก็คือรถวิ่งที่ความเร็ว 120 กม. ต่อชั่วโมง
นอกจาก Tachymeter จะใช้วัดอัตราความเร็วรถยนต์ได้แล้ว ยังสามารถใช้นับกำลังการผลิต ตั้งแต่เริ่มต้นผลิตจนผลิตเสร็จก็ได้เช่นกัน เช่น ผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น ในเวลาผลิตเสร็จ 30 วินาที จะตรงกับ Scaleเลข 120 ก็แสดงว่ากำลังการผลิตของชิ้นนี้คือ 120 ชิ้นต่อชั่วโมง เป็นต้น
Tachymeterยังมาสามารถนำไปใช้ประยุกต์วัดอัตราอื่นๆ ได้อีกมากมาย สเกล Tachymeter ทำหน้าที่อ่านค่าความเร็ว เช่น ถ้าคุณนั่งอยุ่บนรถ แล้วเริ่มจับเวลา(Start)จากหลักกิโลเมตรนึง พอไปถึงอีกหลักกิโลเมตรนึง กด Stop(ระยะห่าง1กิโลเมตร) สมมติเข็มหยุดที่เลข 6 ซึ่งจะตรงกับเลข 120 บนสเกล ก็แสดงว่ารถคันนั้นวิ่งด้วยความเร็ว 120 กิโลเมตร/ชั่วโมง หรือใช้ในการนับกำลังการผลิตก็ได้นะครับ เช่น ถ้าของหนึ่งชิ้นทำเสร็จภายใน 30 วินาทีซึ่งจะตรงกับเลข120 ก็แสดงว่ากำลังการผลิตเท่ากับ 120 ชิ้น/ชั่วโมง แต่ถ้ากำลังการผลิตเร็วขึ้น ก็สามารถนับเป็นทุก10ชิ้น (Base 10) เช่น พอผลิตครบ 10 ชิ้น แล้วเข็มไปหยุดตรงกับเลข8 ซึ่งตรงกับเลข 90 บนสเกล ก็นำไปคูณกับ 10 ก็จะเท่ากับ 900 ซึ่งแสดงว่ากำลังการผลิตคือ 900 ชิ้น/ชั่วโมง และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อีกเยอะแยะมากมาย
Zenith Says: Zeith World ได้แนบคลิปมาให้ชาว Zenith ได้ศึกษาวิธีการใช้งานกันครับ ใช้งานง่ายและมีประโยชน์มากๆเลย